Flash CS3 เป็นโปรแกรม ใช้สร้าง ภาพเคลื่อนไหว หรือสร้างงานแบบMultimedia เพื่อตกแต่งเว็บไซต์ ให้มีความสวยงามและน่าสนใจมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้ออกแบบ E-card รวมถึงภาพนิ่ง , ภาพเคลื่อนไหว , สื่อขนาดเล็ก สามารถโหลดผ่าน web browser ได้อย่างรวดเร็ว มีความคมชัด สามารถนำเสนอได้ทั้งบนเว็บ หรือผ่านโปรแกรม Flash Player หรือจะสร้างเป็นไฟล์ exe ก็ทำได้ อีกทั้งยังสามารถแปลงไฟล์ให้ไปอยู่ใน format อื่นได้อีกด้วย เช่น Animation Gif, AVI, QuickTime วันนี้เราจะพาไปทำความเข้ารู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรมก่อน เพื่อจะได้ใช้งานให้ถูกต้องประกอบด้วย เมนูต่างๆก็มีหน้าที่แตกต่างไป ดังนี้
- เมื่อคุณเลือกสร้างไฟล์ใหม่ จากเมนู Create New Flash File จะเข้าสู่หน้าจอการทำงานหลัก
- ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Flash ก็มีการทำงานในแบบเดียวกันกับโปรแกรมอื่นๆ บน Windows ได้แก่
Menu Bar แสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม
Toolbar แสดงปุ่มเครื่องมือ เช่น สร้างเปิดงานใหม่, เปิดเอกสาร, จัดเก็บไฟล์ เป็นต้น
Toolbox แสดงเครื่องมือวาดภาพ , สร้างภาพ
Timeline มีหน้าที่กำกับเวลาภาพเคลื่อนไหว ซึ่งมี Playhead วิ่งผ่านในแต่ละ Frame เพื่อแสดงภาพหรือ Animation ที่ใส่ไว้ใน Frame นั้นๆ
Playhead ใช้แสดงวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใน Frame คล้ายกับหัวอ่านในเครื่องเล่นวิดีโอเทป เพื่อแสดงวัตถุที่อยู่ใน Frame นั้นออกมาบน Stage ซึ่ง Playhead ทำงานสัมพันธ์กับเวลา รวมทั้งแสดงภาพแต่ละภาพออกมาบน Stage อย่างรวดเร็วจึงทำให้ดูเหมือนเกิดความเคลื่อนไหว
Frame เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กเรียงต่อกันเป็นแถว มีหน้าที่เก็บภาพและเสียงที่จัดวางบน Stage เราจึงต้องจัดเรื่องราวบน Frame เพื่อให้มันออกมาเป็น Flash Movie แต่ละ Frame จะถูกแสดงเมื่อมีการผ่าน Playhead เพื่อแสดงภาพและเสียงที่ถูกบรรจุอยู่ใน Frame นั้นๆ
ขั้นตอนการทำงานเบื้องต้นที่สำคัญของ Flash
- สร้างไฟล์
- สร้าง Object
- นำ Object ที่สร้างไว้แล้วมาทำเป็นภาพเคลื่อนไหว
- บันทึกไฟล์ชิ้นงาน
- แปลงไฟล์งานเพื่อเผยแพร่ผลงาน
การสร้างภาพเคลื่อนไหวใน Flash การสร้าง จะมีความคล้ายคลึงกับการสร้างภาพยนตร์ คือจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นฉากย่อยๆ เรียกว่าซีน โดยแต่ละซีนจะมีภาพนิ่งเรียงกันจำนวนมากเรียกว่า frame เมื่อนำมาต่อกันจะได้เป็นภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง
การสร้างภาพเคลื่อนไหวใน Adobe Flash มี 2 วิธี ได้แก่
– การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame เป็นการสร้างวัตถุหรือภาพด้วยตัวเองในทุกเฟรม เป็นการเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ โดยวิธีนี้ใช้เวลาค่อนข้างเยอะ เนื่องจากต้องมากำหนดองค์ประกอบของ Object ทั้งหมดเอง
– การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบทวีน เป็นวิธีสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยเราไม่ต้องมานั่งกำหนดข้อมูลเองทุกเฟรม เพราะจะกำหนดเฉพาะเฟรมสำคัญๆเท่านั้น รวมทั้งมีการกกำหนดให้โปรแกรมสร้างเฟรมอื่นๆโดยอัตโนมัติ