การสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นเป็นงานละเอียด มีขั้นตอนมากมายหลายขั้นตอน เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาแนะนำขั้นตอนการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น แบบพอสังเขป เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในระดับเบื้องต้น
การสร้างแอนิเมชั่นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่
- เตรียมการก่อนการทำ
- ลงมือทำ
- 3. หลังการทำ
- เตรียมการก่อนการทำ
เป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะทั้ง ความสนุก , ตื่นเต้น , อารมณ์ของตัวละครทั้งหลาย จะถูกสร้างในขั้นตอนนี้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นตรงนี้จึงมีมากมายหลายขั้นตอน ค่อนข้างจุกจิก ในขั้นที่ 1 สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนย่อยด้วยกัน ดังนี้
- เขียนเรื่องและบท เป็นขั้นตอนแรกเริ่มอันสำคัญที่สุด แอนิเมชั่นเรื่องนั้นจะสนุกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเรื่องหรือบทเป็นสำคัญ
- 2. ออกแบบภาพ เป็นการกำหนดตัวละครว่า ควรมีลักษณะหน้าตาอย่างไร , ขนาดเท่าใด , ฉากควรเป็นอย่างไร โทนสียังไง ในขั้นตอนนี้อาจทำเดี่ยว หรือทำควบคู่ไปกับบทภาพก็ได้
- 3. ทำบทภาพ เป็นการนำบทที่เขียนมาจำแนก โดยการร่างภาพลายเส้น พร้อมคำบรรยายแบบคร่าวๆ ซึ่งแม้แต่การถ่ายทำภาพยนตร์ก็ต้องใช้วิธีการวาดบทภาพ ก่อนถ่ายทำด้วยเช่นกัน
- 4. ร่างช่วงภาพ ขั้นตอนนี้ให้นำบทภาพทั้งหมดมาตัดต่อเข้าด้วยกัน พร้อมใส่เสียงพากย์ให้ตัวละครทั้งหมด
- ขั้นตอนการทำ
เป็นขั้นตอนที่จะกำหนดว่า ภาพยนตร์แอนิเมชัน จะมีความสวยงามมากแค่ไหน ประกอบด้วย
- การวาดและลงสีการ์ตูนด้วยคอมพิวเตอร์
- การวาดและลงสีการ์ตูนแอนิเมชัน
การสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันที่เป็นเอกลักษณ์ มีการใช้สีสัน รวมทั้งแสงซึ่งให้อารมณ์แตกต่างกัน รวมทั้งมีฉากที่ช่วยเพิ่มอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ชมมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนหลังการทำ
1. การประกอบภาพรวม เป็นการนำทั้งตัวละครรวมทั้งฉากหลังมาผนวกให้เป็นภาพเดียวกัน ในกระบวนการนี้ มีการปรับแสง สีของภาพ ให้มีความกลมกลืน สอดคล้องไปในทางเดียวกัน ไม่ให้สีแตกต่างกัน
2. ดนตรีและเสียงประกอบ การเลือกดนตรีประกอบ ให้เข้ากับเนื้อเรื่อง รวมทั้งฉากต่างๆ รวมถึงเสียงประกอบสังเคราะห์ ในอดีตการสร้างเสียงประกอบทำได้ จากการบันทึกเสียงที่ใกล้เคียง เช่น เอาช้อนกับส้อมมาฟันกันจนเกิดเสียง ก็ใช้แทนเสียงฟันดาบ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสังเคราะห์เสียงให้ได้เสียงที่เหมือนจริง หรือเกินกว่าความจริง เช่น เสียงคลื่นกระทบหาดทราย , เสียงพายุ , เสียงระเบิด , เสียงมนุษย์ต่างดาว เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้วิศวกรเสียงได้เข้ามามีหน้าที่อย่างมาก การ์ตูนที่มีเนื้อเรื่องแบบเดียวกันแต่เสียงประกอบแตกต่างกัน ส่วนเสียงประกอบที่ดีกว่า เหมาะสมกว่า จะช่วยเพิ่มอารมณ์ความรู้สึก ให้กับการ์ตูนเรื่องนั้นมากขึ้น